เทคนิคใช้กล้องวงจรปิดในโรงงาน พร้อมแนะนำการเลือกซื้อสำหรับมือใหม่

    ในพื้นที่ของโรงงานที่มีมาตรฐานนั้น นอกจากการรักษาความปลอดภัยด้วยยามรักษาการณ์แล้ว จะต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยด้วยกล้องวงจรปิดเอาไว้ เพื่อเป็นเป็นอุปกรณ์สำคัญของ ระบบความปลอดภัย ภายในโรงงาน ซึ่งการวางระบบกล้องวงจรปิดนั้นจะต้องมีการวางแผนเพื่อให้การใช้งานมีประสิทธิภาพสูงสุด วันนี้ทาง บริษัท สมาร์ท เบสท์บายส์ จะมาแนะนำเทคนิคในการติดตั้งกล้องวงจรปิดในโรงงาน พร้อมแนะนำการเลือกซื้อสำหรับมือใหม่ จะได้ตอบโจทย์การใช้งานอย่างครอบคลุม

ระบบของกล้องวงจรปิด

ก่อนที่จะไปถึงวิธีการเลือกซื้อกล้องวงจรปิดไว้ใช้งาน เรามาทำความรู้จักระบบของกล้องวงจรปิดหรือ กล้อง cctv ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันกันก่อน

  1. กล้องวงจรปิดระบบอนาล็อก

      กล้องวงจรปิดระบบอนาล็อกนั้นเป็นระบบที่ถูกพัฒนามาในยุคแรกของกล้องที่ใช้สำหรับรักษาความปลอดภัย เป็นระบบที่ต้องอาศัยสายเคเบิลเป็นตัวส่งสัญญาณภาพและเสียงไปยังเครื่องบันทึกภาพและจอมอนิเตอร์ โดยคุณภาพของความคมชัดขึ้นอยู่กับคุณภาพของสายสัญญาณและระยะความยาวของสาย ซึ่งมีข้อดีคือ สามารถนำกล้องต่างยี่ห้อมาใช้งานร่วมกันได้เพราะมีเพียงระบบ PAL และ NTSC เท่านั้น ติดตั้งได้ง่ายไม่ยุ่งยากด้วยการยึดติดกล้องตรงจุดที่ต้องการ ต่อระบบไฟฟ้าในการทำงานและต่อสายเคเบิลที่ตัวกล้องเข้ากับเครื่องบันทึกก็ใช้งานได้แล้ว แต่กล้องระบบอนาล็อกนี้ก็มีข้อจำกัด เช่น มีคุณภาพความคมชัดในการบันทึกที่ไม่สูง หากพื้นที่ในการใช้งานต้องเดินสายเคเบิลในระยะทางที่ยาว จะทำให้มีผลต่อคุณภาพสัญญาณด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดในการเพิ่มจำนวนกล้อง เพราะอุปกรณ์เชื่อมต่อมีจำกัด ทำให้ในปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมในการใช้งานมากนัก


  1. กล้องวงจรปิดไร้สาย

     เป็นกล้องวงจรปิดที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยส่วนมากเราจะรู้จักกันในชื่อ IP Camera เป็นกล้องที่ต้องใช้งานร่วมกับระบบอินเตอร์เน็ตแบบเครือข่าย (Network) เพื่อเชื่อมกล้องแต่ละตัวในพื้นที่ให้มาอยู่ในวงเน็ตเวิร์คเดียวกัน ซึ่งการส่งสัญญาณภาพและเสียงไปยังเครื่องบันทึกและจอมอนิเตอร์นั้น จะใช้การเชื่อมต่อด้วยสาย LAN ก็ได้ หรือจะใช้ระบบอินเตอร์เน็ตแบบ  Wifi ในการเชื่อมต่อก็ได้เช่นกัน ซึ่งมีข้อดีคือมีประสิทธิภาพในการทำงานสูง มีความคมชัดในการบันทึกภาพสูงเพราะไม่จำเป็นต้องต่อสายเคเบิลแบบกล้องระบบอนาล็อก ทำให้สามารถใช้งานกล้องวงจรปิดได้เต็มประสิทธิภาพ 

     นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นการใช้งานมากขึ้น เช่น กล้องวงจรปิดที่มีระบบ Motion Sensor ตรวจจับความเคลื่อนไหว มีความปลอดภัยสูงเพราะสามารถทำการจำกัดสิทธิ์ในการเข้าถึงระบบกล้องวงจรปิดได้ นอกจากนี้ยังสามารถสำรองข้อมูลผ่าน Server หรือระบบ Cloud ได้ หมดปัญหาเรื่องฮาร์ดดิสก์ชำรุด แต่กล้องระบบ IP Camera นั้นก็มีข้อจำกัดในการใช้งานเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น การติดตั้งต้องใช้ช่างหรือผู้มีความชำนาญในระบบเน็ตเวิร์ค เนื่องจากมีความซับซ้อนมากกว่า ใช้ Bandwidth ในการส่งข้อมูลที่สูง เพื่อให้ได้คุณภาพไฟล์บันทึกที่คมชัดที่สุด ดังนั้นระบบอินเตอร์เน็ตที่ใช้งานกับกล้องระบบนี้ต้องมีความเร็วสูงและมีความเสถียรจึงจะทำให้การใช้งานเกิดประสิทธิภาพ และที่สำคัญไม่สามารถใช้กล้องต่างยี่ห้อมาใช้งานร่วมในเครือข่ายเดียวกันได้ เนื่องจากระบบของผู้ผลิตกล้องแต่ละยี่ห้อที่มีความเฉพาะตัวด้วยเหตุผลทางด้านการตลาด

ประเภทของกล้องวงจรปิด

เมื่อเราทราบระบบการทำงานของกล้องวงจรปิดทั้ง 2 ระบบแล้ว สิ่งที่ควรรู้อันดับต่อไปก็คือประเภทของกล้องวงจรปิด เพื่อที่จะได้เลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสม ซึ่งกล้องวงจรปิดนั้นแบ่งออกได้ดังนี้

  1. กล้องวงจรปิดแบบมาตรฐาน

     หรือที่เรียกว่ากล้องทรงกระบอก (Box Camera) เป็นกล้องแบบมาตรฐานที่นิยมติดตั้งเอาไว้ในบริเวณที่มีแสงสว่างตลอดเวลา มีข้อดีคือสามารถเปลี่ยนเลนส์ของกล้องให้เหมาะสมกับการใช้งานได้ เช่น เปลี่ยนเลนส์ให้บันทึกภาพได้ในมุมกว้างเป็นพิเศษ หรือเปลี่ยนเลนส์ที่มีระยะของเลนส์ที่ยาวขึ้นทำให้ภาพที่บันทึกได้มีความคมชัดสูง ภาพไม่แตกเมื่อนำมาขยายในการใช้งาน เหมาะกับการติดตั้งในบริเวณพื้นที่กว้าง

  1. กล้องวงจรปิดแบบบูลเล็ต (Bullet)

      เป็นกล้องที่เหมาะสำหรับการติดตั้งเพื่อใช้งานภายนอกอาคาร กล้องวงจรปิดชนิดนี้มีคุณสมบัติที่ทนทานต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กันน้ำ กันความชื้น กันฝุ่นได้ในระดับที่ดี มีระบบอินฟาเรดที่สามารถบันทึกภาพได้ในบริเวณที่มีแสงน้อยหรือในที่มืดสนิท โดยระยะการทำงานของระบบอินฟราเรดนั้นจะอยู่ที่ 10-30 เมตร หากไกลกว่านั้นจะได้ภาพที่ไม่คมชัด และมีข้อจำกัดเรื่องมุมมองที่ไม่สามารถเปลี่ยนเลนส์ของกล้องได้ แต่ด้วยคุณสมบัติในเรื่องความทนทานและบันทึกภาพในที่มืดได้ จึงนิยมติดตั้งเอาไว้นอกอาคาร

  1. กล้องวงจรปิดแบบโดม (Dome)

     เป็นกล้องที่มีลักษณะเป็นรูปโดมหรือครึ่งวงกลม มีขนาดที่เล็ก จึงนิยมติดตั้งเอาไว้ใช้งานภายในอาคาร เพราะมีความสวยงามและกลมกลืนไปกับสภาพห้อง มีข้อดีคือติดตั้งง่าย มีน้ำหนักเบา และเมื่อติดตั้งแล้วมุมมองของกล้องมีความมั่นคงไม่ขยับเขยื้อนจากแรงกระแทก แต่ก็มีข้อเสียคือระยะความคมชัดของภาพมีจำกัดเพราะตัวเลนส์มีขนาดเล็กและไม่สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้

  1. กล้องวงจรปิดแบบสปีดโดม (Speed Dome)

    เป็นกล้องวงจรปิดที่มีความสามารถในการควบคุมให้กล้องขยับขึ้น-ลง , ควบคุมทิศทางซ้าย-ขวา หรือกำหนดการซูมเข้า-ออก ได้แบบอิสระ ทำให้สามารถออกแบบในการลดจำนวนกล้องที่ติดตั้งลงได้ แต่ก็มีข้อจำกัดคือต้องมีการควบคุมการทำงาน จึงมักมีฟังก์ชั่นตรวจับความเคลื่อนไหวในตัวกล้องเพื่อให้กล้องนั้นหันตามความเคลื่อนไหวของผู้บุกรุกเพื่อบันทึกภาพได้

เทคนิคการเลือกจุดติดตั้งกล้องวงจรปิดในโรงงาน

     ในพื้นที่ของโรงงานนั้นมีความกว้างขวางและมีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นสัดส่วน การติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดจึงต้องมีเทคนิคในการเลือกจุดติดตั้ง เพื่อให้กล้องวงจรปิดนั้นใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งวิธีการเลือกกล้องวงจรปิดเพื่อติดตั้งในโรงงานมีดังนี้

  1. บริเวณรอบโรงงาน

      โรงงานนั้นจะมีส่วนที่เป็นพื้นที่กว้างโดยรอบ ซึ่งต้องติดตั้งกล้องเอาไว้เพื่อรักษาความปลอดภัยทั้งทรัพย์สินภายในโรงงานและความปลอดภัยของพนักงาน ตรงจุดนี้ควรเลือกกล้องวงจรปิดที่มีระบบอินฟราเรดเพื่อที่จะได้ใช้งานในเวลากลางคืนที่มีแสงน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยต้องจัดวางมุมของกล้องวงจรปิดให้สามารถถ่ายภาพได้ครอบคลุมทั่วทั้งบริเวณ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วหากเกิดเหตุร้ายขึ้นตรงมุมอับที่กล้องไม่สามารถบันทึกภาพได้ ก็จะทำให้ไม่มีหลักฐานมาใช้งาน

  1. ภายในตัวโรงงาน

     ภายในโรงงานนั้นจะเป็นส่วนของไลน์การผลิตที่มีพนักงานปฏิบัติงานอยู่เป็นจำนวนมาก รวมถึงมีเครื่องจักรและอุปกรณ์อยู่มาก ตรงจุดนี้อาจจะติดตั้งกล้องวงจรปิดแบบโดมเอาไว้ จะได้มีความกลมกลืนกับพื้นที่ภายใน หรือจะติดตั้งกล้องวงจรปิดแบบมาตรฐานเอาไว้ก็เพียงพอต่อการใช้งาน เพราะพื้นที่บริเวณนี้จะมีระบบไฟส่องสว่างอยู่ตลอดเวลา

  1. ภายในห้องสำนักงาน

     นอกจากพื้นที่การผลิตแล้ว โรงงานยังมีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนของสำนักงานที่ต้องมีการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดในการเข้า-ออก นอกจากการจำกัดสิทธิ์ด้วยระบบการเข้า-ออกด้วยคีย์การ์ดแล้ว การติดตั้งกล้องวงจรปิดเอาไว้ก็ช่วยในการรักษาความปลอดภัยได้ กล้องที่เหมาะสมในการใช้ตรงบริเวณนี้คือกล้อง กล้องวงจรปิด wifi ที่จะช่วยให้การรักษาความปลอดภัยทำได้ง่ายเพราะสามารถดูผ่านสมาร์ทโฟนได้ตลอดเวลา และหากใช้กล้องวงจรปิดที่มีระบบ Motion Sensor ตรวจจับความเคลื่อนไหว เอาไว้สำหรับตรวจจับผู้บุกรุกในยามวิกาลก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

    ซึ่งทาง บริษัท สมาร์ท เบสท์บายส์ มีแพคเกจสำหรับกล้องวงจรปิดอัจฉริยะให้เลือกใช้งานสำหรับโรงงาน ทั้งระบบกล้องวงจรปิด 4 ตัว และระบบกล้องวงจรปิด 8 ตัว พร้อมกล่องรับสัญญาณและบันทึกวีดีโอให้เลือกใช้งาน มีระบบอินฟราเรดบันทึกได้ในที่มืดและระบบตรวจจับความเคลื่อนไหวทุกย่างก้าว พร้อมผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาในการติดตั้ง และมีแอปพลิเคชันสำหรับใช้งานเป็น กล้องวงจรปิดไร้สาย ได้ เป็นการวาง ระบบความปลอดภัย ให้กับโรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ

เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น