10 ข้อ ที่ตำรวจจะตรวจคุณ ถ้า “คุณมีรถบรรทุก”

ปัจจุบันมีธุรกิจงานบริการด้วยรถบรรทุกมากขึ้น เพราะการขยายตัวของกิจการตามนโยบายเศรษฐกิจทั้งในและระหว่างประเทศ ทำให้งาน logistics หรือการขนส่งสินค้ามีการขยายตัวอย่างสูง

ร้านไทยจราจรจึงได้รวบรวม 10 ข้อควรทราบสำหรับผู้ประกอบกิจการที่เกี่ยวกับรถบรรทุก สำหรับการถูกเรียกตรวจจากเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ดังนี้

  1. ต้องมีเอกสารราชการที่แสดงถึงการได้รับอนุญาตถูกต้องครบถ้วน 100 เปอร์เซ็นต์ จากนายทะเบียนของกรมการขนส่งเสียก่อน หากไม่มีส่วนนี้ให้ตรวจสอบได้ ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับขั้นต่ำ 2 หมื่นบาท แต่ไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  1. การใช้รถบรรทุกต้องตรงตามที่เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการได้ขออนุญาตไว้กับกรมการขนส่ง ดังที่กล่าวไว้ในข้อแรก ดังหลักฐานที่ได้รับจากทางการฯ ว่าผ่านการขออนุญาตเรียบร้อยจากนายทะเบียน ทั้งนี้หากจะมีการใช้นอกเหนือจากนั้น ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามหลักเกณฑ์ขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด ห้ามทำโดยพลการเด็ดขาด มิฉะนั้นจะได้รับโทษจำคุก ไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  1. ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจรถบรรทุกต้องจัดให้มีหนังสือเอกสาร ที่เรียกว่า สมุดประจำรถบรรทุก และมีประวัติผู้ขับขี่ประจำรถบรรทุกแต่ละคัน รวมถึงจำเป็นต้องทำหนังสือรายงาน หรือ report เกี่ยวกับการขนส่งต่าง ๆ ของรถแต่ละคัน รวมถึงบันทึกอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการขนส่งของรถคันนั้น ๆ ด้วย หากไม่มีส่วนนี้ จึงถูกโทษปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
  1. ต้องไม่พบปัญหาการขับรถขณะมึนเมายาเสพย์ติด หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด มิฉะนั้นกฎหมายระบุโทษไว้ ให้จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (สำหรับเจ้าของกิจการ) ส่วนคนขับจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับ 2 พันถึง 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

ดังนั้น เจ้าของธุรกิจรถบรรทุกต้องกำชับพนักงานขับรถบรรทุก ให้หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างวันที่มีการเข้ากะ เช่น หากเข้ากะจันทร์ถึงศุกร์ ระหว่างนี้ก็ไม่ควรดื่มสังสรรค์

  1. การติดตั้งเข็มขัดนิรภัย ภายในรถบรรทุกสองที่นั่ง คือที่นั่งคนขับและที่นั่งคู่กันด้านซ้าย เป็นสิ่งที่กฎหมายระบุไว้สำหรับรถบรรทุกที่จดทะเบียนตั้งแต่ 1 เมษายน 2555 
  1. การติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัยจราจร ซึ่งล่าสุดได้มีความเข้มงวดในการติด แผ่นสะท้อนแสง และอุปกรณ์สะท้อนแสง อาทิ ติด แถบสะท้อนแสง ที่ด้านข้างและตามขอบของรถ เพื่อเป็นจุดสังเกตให้รถคันอื่นเห็นรถบรรทุกได้ง่ายจากระยะ 150 เมตร 

โดยกำหนดให้ติดด้านท้ายรถด้วยอุปกรณ์สะท้อนแสงสีแดง เช่น ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทรงสามเหลี่ยม โดยติดทั้งด้านซ้ายและขวาของท้ายรถให้สมมาตรกัน ส่วนด้านข้างตัวถังรถ ให้ติดเป็นอุปกรณ์สะท้อนแสงสีเหลืองอำพัน  โดยมีความยาวในช่วง 1 ใน 3 ถึง 2 ใน 3 ของความยาวรถบรรทุก 

ซึ่งการติด เทปสะท้อนแสง ตามขอบต่าง ๆ ของตัวรถ เรียกว่าเป็นการลงทุนน้อย แต่ได้ประโยชน์คุ้มค่าที่สามารถติดเพิ่มได้เองกับรถบรรทุกทุกคัน เพิ่มเติมจากที่กฎหมายกำหนดเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ 

  1. อุปกรณ์ GPS ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่กฎหมายระบุให้ติดตั้งสำหรับรถบรรทุกสิบล้อขึ้นไป เพื่อติดตามเส้นทางการเดินรถและการขนส่งสินค้า ทำให้สามารถตรวจสอบภายหลังได้จากการบันทึกข้อมูลบนแถบแม่เหล็ก 

ทั้งนี้จะมีการตรวจสอบเชิงลึกจากกรมการขนส่งในด้านต่าง ๆ อาทิ เช็คการขับรถเร็วเกินกำหนด การขับรถต่อเนื่องเกินกว่า 4 ชั่วโมง (ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้เป็นค่าสูงสุดที่ให้ขับได้ เนื่องจากประสิทธิภาพในการขับขี่จะลดลงจนเสี่ยงเกิดอันตรายอย่างมาก)

ดังนั้น ก่อนการว่าจ้างให้ทำงาน เจ้าของกิจการขนส่งด้วยรถบรรทุก ควรกำชับและทบทวนพนักงานขับรถให้สังเกต ป้ายจราจร และ ป้ายจำกัดความเร็วต่าง ๆ เพื่อรักษากฎจราจรอย่างเคร่งครัด จะได้ไม่เสี่ยงถูกโทษปรับต่าง ๆ ตามมา

  1. สำหรับตัวของพนักงานขับรถบรรทุก จะต้องผ่านการสอบใบขับขี่เสียก่อน ซึ่งแตกต่างจากใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล (ประเภทที่หนึ่ง) เนื่องจากมีการแบ่งตามประเภทของรถบรรทุก คือ

ประเภทที่สอง เป็นใบขับขี่ที่อนุญาตให้ขับรถบรรทุกที่น้ำหนักรวมกันทั้งส่วนตัวรถและของที่บรรทุกได้ ตั้งแต่ 3500 กิโลกรัม หรือ 3.5 ตันขึ้นไป หรือหากเป็นขนส่งบรรทุกคนก็คือมีคนนั่งเกินกว่า 20 คนขึ้นไป

ประเภทที่สาม คือ สำหรับรถบรรทุกประเภทลากจูง

ประเภทที่สี่ คือ สำหรับรถบรรทุกที่ต้องขนส่งวัตถุอันตราย ตามที่ราชกิจจานุเบกษากำหนดไว้

  1. สำหรับรถบรรทุกที่ขนส่งวัตถุอันตราย ซึ่งทางกฎหมายแบ่งเป็น 9 กลุ่ม เช่น วัตถุไวไฟ , ก๊าซ , สารพิษ-สารติดเชื้อ , สารกัดกร่อน ฯลฯ ล่าสุดเมื่อ 19 กันยายน 2561 ที่ผ่านมาได้ระบุให้พนักงานขับรถบรรทุกเหล่านี้มีการอบรมและทดสอบเพื่อให้ได้รับหนังสือราชการ รับรองการขับรถวัตถุอันตราย ซึ่งตำรวจจะเรียกตรวจค้นอย่างแน่นอนคู่กับใบอนุญาตฯขับรถ
  1. การตรวจสารเสพย์ติด เป็นสิ่งที่ตำรวจมักตรวจตามด่านต่าง ๆ สังเกตจาก ป้ายด่านตรวจ ที่มักติด ไฟไซเรน โดยหากพบว่าผู้ขับขี่รถบรรทุกมีสารเสพติด ก็มีโทษตาม พรบ.ยาเสพติด พ.ศ.2522 ร่วมกับ พรบ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ด้วย

 

สำหรับผู้ที่สนใจอยากประกอบธุรกิจบริการด้วยรถบรรทุก ควรติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวในแง่กฎหมายใหม่ ๆ และหมั่นอัพเดตเส้นทางเดินรถที่มีการห้ามในบางช่วงเวลา สำหรับยุคสมัยปัจจุบันที่มีการวางระบบรถไฟฟ้าในหลายเขตพื้นที่ 

หากท่านสนใจเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่และการจราจร เชิญชมสินค้าดีมีคุณภาพและดีไซน์ใหม่ ๆ ได้ที่ร้านไทยจราจร www.trafficthai.com ได้ตลอดเวลา

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น