สร้างองค์กรอัจฉริยะจากแนวคิด บ้านอัจฉริยะ

       เทรนด์ของ smart home ถือว่าได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากทุกวันนี้นอกจากความสำคัญในเรื่องความสวยงามของบ้านแล้ว คนยังให้ความสำคัญกับสิ่งต่าง ๆ ภายในบ้านที่มีความสอดคล้องกับ Lifestyle และความทันสมัยของเทคโนโลยีอีกด้วย และคงต้องพูดถึงคำว่า Internet of Things (IoT) ที่มีความเกี่ยวข้องกันโดยตรงเลยทีเดียว โดยในปัจจุบันหลายองค์กรมีการยกระดับองค์กรสู่ Digital Infrastructure ที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบโครงข่ายเซิร์ฟเวอร์ Data center และ Application ต่าง ๆ ที่มี Internet of Things เป็นส่วนหนึ่งในนั้นพร้อมทั้งต่อยอดเป็น Smart device เพื่อนำมาสนับสนุนการทำงานขององค์กรและอำนวยความสะดวกให้กับองค์กร

 

         ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ บ้านอัจฉริยะ หรือสมาร์ทโฮมกันก่อน smart home หมายถึง บ้านหรืออาคารที่มีอุปกรณ์ที่เป็นเครื่องใช้ภายในบ้านต่าง  ๆ ที่สามารถควบคุมหรือเชื่อมโยงจากการสั่งงานผ่านอินเทอร์เน็ตหรือสมาร์ทโฟน ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมจากระยะใกล้หรือไกลก็ตาม จุดสำคัญของ Smart Home ประกอบด้วย 4 ประเด็นหลัก คือ

  • ระบบความปลอดภัย

        เรื่องของความปลอดภัยเป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก จึงมีความคาดหวังกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับตนเองและทรัพย์สินเพิ่มมาก ขึ้น ตัวอย่างอุปกรณ์ เช่น กล้องวงจรปิด หรือระบบประตูดิจิทัล

  • ความสะดวกสบาย

       Lifestyle ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีการกำหนดกิจกรรมและเวลาของตารางชีวิตในแต่ละวันที่ชัดเจน พร้อมทั้งให้ความสำคัญในเรื่องของความสะดวกสบายจึงมีการหาอุปกรณ์เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มาช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้ชีวิตตนเองมากขึ้น

ตัวอย่างอุปกรณ์ เช่น หลอดไฟอัจฉริยะ หรือ Smart device ที่สามารถควบคุมการเปิดปิดด้วย Application ในโทรศัพท์มือถือ

  • ความบันเทิง

       Work life balance ถือเป็นสิ่งที่ผู้คนในปัจจุบันนิยมและให้ความสำคัญมาก ดังนั้นจึงมองหาสิ่งต่าง ๆ ที่เพิ่มความบันเทิงให้กับตนเองหลังจากที่เรียนหรือทำงานมาอย่างหนัก

ตัวอย่างอุปกรณ์ เช่น Streaming Application

  • คุณภาพชีวิต

      แน่นอนว่าในการใช้ชีวิตแต่ละวันทุกคนหวังจะให้ตนเองมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สร้างความสุขให้กับชีวิตมากขึ้น โดยอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ Well-being device หมายถึง อุปกรณ์ที่ช่วยให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์ และ Preventive living device หมายถึง อุปกรณ์ในเชิงการรักษาป้องกัน เช่น อุปกรณ์ออกกำลังกาย 

โดยรูปแบบของนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการควบคุมสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้

1.Home Control 

      เป็นรูปแบบที่มีการใช้ Smart phone ในการควบคุมการทำงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำให้แสงไฟหรี่ลงหรือจ้าขึ้น การปรับอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศ

2.Home Monitoring 

      เป็นลักษณะของการควบคุมสัญญาณระยะไกล เช่น การติดตั้ง กล้อง cctv ภายในบ้านและบริเวณรอบบ้านพร้อมทั้งควบคุมและคอยดูความเคลื่อนไหวภายในและรอบบ้าน ผ่านโทรศัพท์มือถือได้ทุกที่ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง

3.Media Center 

     เป็นการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเพื่อเน้นการสร้างความบันเทิงให้กับผู้ใช้งาน เช่น คอนเทนต์เกี่ยวกับความบันเทิงหรือการสตรีมภาพยนตร์สำหรับให้สามารถดูได้ในทุกที่ทุกห้องภายในบ้าน

4.Smart Kitchen 

      เป็นการนำเทคโนโลยีภายใต้แนวคิดของ Internet of Things มาประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์เครื่องครัวเพื่อเชื่อมต่อการสื่อสารกับผู้ใช้งานได้อย่างชาญฉลาด ที่มาพร้อมกับการสร้างความสะดวกสบายและทำให้มีความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ มากขึ้น เช่น การแจ้งเตือนเมื่อมีการต้มน้ำจนถึงอุณหภูมิที่ตั้งไว้ ระบบควบคุมอุณหภูมิ หรือระบบปิดเปิดเองอัตโนมัติ

5.Appliance Control 

      ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันแทบจะทุกคนล้วนมี Smart phone เป็นของตนเอง จึงทำให้ง่ายในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ากับ Application ในโทรศัพท์เพื่อใช้ในการควบคุมและสั่งการอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้สะดวกมากขึ้น โดยแอปพลิเคชันควรติดตั้งง่าย ใช้งานง่ายและไม่มี Error 

6.Landscape Control 

ระบบควบคุมภูมิทัศน์ เป็นระบบที่เราสามารถสั่งงานอุปกรณ์เทคโนโลยีให้ทำงานหรือหยุดทำงานก็ได้แม้ว่าเราจะไม่อยู่บ้าน เช่น การสั่งงานอุปกรณ์รดน้ำต้นไม้

 

         จากการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้หลายองค์กรเริ่มมีแนวคิดในการสร้างองค์กรอัจฉริยะ ที่เป็นองค์กรที่สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างชาญฉลาดควบคู่ไปกับการปรับตัวอยู่เสมอเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างคุณค่าเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง โดยองค์กรอัจฉริยะมักมีการนำเอาส่วนของอุปกรณ์เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • เพิ่มความสะดวกสบายในการทำงาน ตัวอย่างอุปกรณ์ เช่น ระบบเซนเซอร์อัจฉริยะสำหรับประตูและหน้าต่าง
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ตัวอย่างอุปกรณ์ เช่น ระบบควบคุมแสงสว่างอัจฉริยะที่ช่วยให้สามารถทำงานในพื้นที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ
  • เพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน ตัวอย่างอุปกรณ์ เช่น กล้องวงจรปิดอัจฉริยะ ปุ่มกดขอความช่วยเหลือ
  • ลดการใช้แรงงาน ตัวอย่างอุปกรณ์ เช่น เครื่องดูดฝุ่นอัตโนมัติ
  • ลดความผิดพลาดที่เกิดจาก Human error ตัวอย่างอุปกรณ์ เช่น ระบบเตือนภัยอัจฉริยะ

ไอเทมสร้างองค์กรอัจฉริยะจากแนวคิด บ้านอัจฉริยะ

1.หลอดไฟอัจฉริยะ 

      หลอดไฟระบบอัจฉริยะหรือ LED Smart Bulb ที่นอกจากจะช่วยประหยัดพลังงานหรือประหยัดไฟแล้ว ยังสามารถปรับเปลี่ยนสีของไฟ และปรับจังหวะของการกะพริบของหลอดไฟได้ ถือว่าเป็นการเพิ่มความหลากหลายในการใช้งานได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน อีกทั้งยังสามารถสั่งการด้วยเสียงโดยใช้ร่วมกับแอป Alexa หรือ google Assistnce ก็ได้

     นอกจากนี้ยังไม่ต้องกลัวว่าวันไหนจะลืมปิดไฟก่อนออกจากที่ทำงานหรือไม่ เพราะสามารถตรวจสอบสถานะของการเปิด – ปิดของหลอดไฟได้ผ่าน  Application แม้ว่าจะออกมานอกที่ทำงานแล้วก็ตาม หากลืมปิดไฟก็สามารถสั่งปิดไฟผ่านแอปพลิเคชันได้ทันที 

2.กล้องวงจรปิด 

      ที่ผ่านมาในแต่ละองค์กรอาจมีวงจรปิดอยู่แล้ว แต่หากลองมาตรวจสอบกันดี ๆ ก็จะพบว่ามีทั้งกล้องที่เสียแล้วบ้างหรือเป็นกล้องรุ่นเก่าที่ไม่มีความคมชัดและไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์หรือเป็นหลักฐานทางคดีได้จริง ดังนั้นการสร้างองค์กรอัจฉริยะอย่างแท้จริงควรรื้อและติดตั้ง กล้อง cctv ใหม่ทั้งระบบ ซึ่งกล้องที่ดีควรเป็นระบบไร้สายที่สามารถควบคุมและสั่งงานได้ผ่าน Device ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ก็ตาม และต้องมีความคมชัดที่มากพอทั้งในตอนกลางวันและกลางคืน หรืออาจใช้เป็นกล้องแบบหมุน 360 องศา ในบางตำแหน่งเพื่อป้องกันการเกิดมุมอับของกล้อง เช่น บริเวณทางเดินในอาคาร 

3.ระบบความปลอดภัย

      สำหรับองค์กรอัจฉริยะในยุคใหม่นี้ควรจะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มความปลอดภัยให้กับองค์กรหรือสำนักงานอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด เริ่มตั้งแต่ทางเข้าสำนักงานหรือห้องต่าง ๆ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและความทันสมัยให้กับองค์กร ตัวอย่างอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการรักษาความปลอดภัยขององค์กรอัจฉริยะ เช่น Digital door lock ที่เป็นอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัยในการเข้าถึงพื้นที่ต่าง ๆ ขององค์กร เนื่องจากบางพื้นที่จะต้องมีการจำกัดเฉพาะพนักงานในองค์กร หรือเฉพาะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเท่านั้นถึงเข้าพื้นที่นั้น ๆ ได้ โดยระบบประตูอัจฉริยะในปัจจุบันมีการพัฒนาให้เข้าถึงได้หลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบคีย์การ์ด การกดรหัส ระบบเซนเซอร์หรือระบบลายนิ้วมือ

      ในการสร้างองค์กรอัจฉริยะนั้นนอกจากที่มีการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ มาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มความปลอดภัยให้กับองค์กรแล้ว อีกหนึ่งสิ่งสำคัญเลยคือการที่องค์กรสามารถบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์เหล่านั้นได้อย่างคุ้มค่า พร้อมมีการบำรุงรักษาอุปกรณ์อยู่เสมอเพื่อให้อุปกรณ์ยังทำงานได้อย่างดีและต่อเนื่อง 

เพียงเท่านี้ก็จะสามารถสร้างองค์กรอัจฉริยะที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีพร้อมสนับสนุนการสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันได้อย่างเต็มที่ เพราะการมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี มีความทันสมัย จะเป็นการผลักดันทางอ้อมให้กับบุคลากรภายในองค์กรได้มีการทำงานเชิงรุก มีความ Active และพร้อมที่จะขับเคลื่อนองค์กรอย่างเต็มที่

       สำหรับองค์กรใดที่กำลังหาอุปกรณ์อัจฉริยะต่าง ๆ เพื่อพัฒนาองค์กรให้สู่องค์กรอัจฉริยะสามารถเข้าไปดูสินค้าได้ที่ https://www.smartsafetyservice.com ซึ่งนอกจากจะมีอุปกรณ์ให้เลือกอย่างหลากหลายครบถ้วนแล้วยังมีการให้บริการตรวจสอบหน้างานพร้อมให้คำปรึกษาให้คำแนะนำในการวางแผนติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของพื้นที่และการใช้งานของแต่ละองค์กร อีกทั้งยังมีการให้บริการติดตั้งอุปกรณ์อัจฉริยะสำหรับองค์กรโดยช่างผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 10 ปี

 

เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น