10 สาเหตุอันตราย ที่ทำให้ อาคาร คอนโด หรือห้างสรรพสินค้า เกิดไฟไหม้

สาเหตุอันตราย

เมื่อพูดถึงไฟไหม้ หลายคนอาจจะคิดว่าต้องเกิดกับบ้านเรือน หรือสถานที่ที่ผู้คนใช้อยู่อาศัยประจำเท่านั้น แต่ที่จริงแล้ว อัคคีภัย เป็นภัยที่สามารถเกิดได้กับทุกสถานที่ ตั้งแต่บ้านเรือน ชุมชนแออัด ตามอาคาร คอนโด ห้างสรรพสินค้า หรือแม้แต่ตามป่าหญ้ารกร้าง ขอแค่มีสื่อที่ทำให้เกิดไฟกับวัตถุหรือวัสดุที่สามารถเผาไหม้ได้ ไฟก็สามารถติดขึ้นมาแล้วลุกลามไปยังจุดต่างๆ จนยากต่อการควบคุม สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างรุนแรง

ในอดีต เราคงเคยเห็นกรณีเพลิงไหม้รุนแรงที่สร้างความเสียหายให้กับอาคารสถานที่กันมานักต่อนักแล้ว ถ้าเป็นกรณีใหญ่ๆ หน่อย ก็อย่างเช่นเหตุเพลิงไหม้โรงงานตุ๊กตาย่านพุทธมณฑลสาย 4 , เหตุเพลิงไหม้โรงแรมห้าดาวชื่อดังแถวหาดจอมเทียน ทั้ง 2 กรณีนี้ได้คร่าชีวิตของผู้คนที่ติดอยู่ในอาคารไปเป็นจำนวนมาก หรือถ้าเป็นกรณีเล็กๆ ก็อย่างเช่นเหตุเพลิงไหม้ห้างสรรพสินค้าชื่อดังแถวรามคำแหงในอดีต จนห้างสาขานั้นต้องปิดตัวลงไป เป็นต้น แต่อะไรละที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นตามสถานที่เหล่านี้ได้ วันนี้ร้านไทยจราจรจะขอพาคุณสาไปดูสาเหตุเหล่านั้นกัน โดยเมื่อสรุปแล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น 10 ข้อ ดังนี้

การเก็บรักษา หรือเคลื่อนย้ายสารที่เป็นวัตถุไวไฟแบบไม่ระวัง

                  1.การสูบบุหรี่ในอาคาร

                         สาเหตุอย่างแรกที่ทำให้อาคารหลายๆ แห่ง ต้องเกิดเพลิงไหม้ขึ้นมานักต่อนัก เนื่องจากหลายคนที่สูบบุหรี่ในอาคาร มักจะทิ้งก้นบุหรี่แบบไม่ได้ดับให้สนิทลงพื้น เมื่อก้นบุหรี่ไปสัมผัสกับวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิง ก็ทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ ทางแก้ไขก็คือ ควรมีการควบคุมการสูบบุหรี่ในอาคารอย่างเข้มงวด จัดพื้นที่สูบบุหรี่ให้เป็นจุด มีที่ทิ้งก้นบุหรี่เป็นกิจจะลักษณะ ปัญหานี้ก็จะลดลง

การเก็บรักษา หรือเคลื่อนย้ายสารที่เป็นวัตถุไวไฟแบบไม่ระวัง

                  2.แก๊สรั่ว

                         สาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้อาคารหลายๆ แห่งในอดีตต้องเกิดเพลิงไหม้ขึ้น เช่น โรงแรมชื่อดังแถวหาดจอมเทียน พัทยา ที่เกิดเหตุเพลิงไหม้จนมีผู้เสียชีวิตมากมาย หรือห้างสรรพสินค้าแถวรามคำแหงที่ไหม้จนต้องปิดกิจการ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้แก๊สรั่วนั้นมีได้หลายประการ เช่น สายยางที่ต่อระหว่างเตากับถังแก๊สมีรอยฉีกขาด จุดเชื่อมต่อทำได้ไม่สนิท เป็นต้น ปัจจุบันมีการเติมสารประเภทแก๊สไข่เน่าลงไปในถังแก๊สด้วย เมื่อแก๊สรั่วขึ้น ผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นจะได้กลิ่นทันที ก็ถือว่าช่วยลดเพลิงไหม้ที่มาจากสาเหตุนี้ลงไปได้เยอะ

การเก็บรักษา หรือเคลื่อนย้ายสารที่เป็นวัตถุไวไฟแบบไม่ระวัง

                  3.ไฟฟ้าลัดวงจร

                         ในอาคารบางแห่งที่มีการใช้ไฟฟ้าเยอะ แต่ระบบไฟฟ้ายังเป็นของเก่า สายไฟก็เป็นสายไฟตั้งแต่เมื่อหลายสิบปีก่อน ฟิวส์ก็ไม่ได้มาตรฐาน ฯลฯ เมื่อปัจจัยหลายอย่างมารวมกัน ก็ส่งผลให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร เกิดเพลิงไหม้ในอาคารได้ เพราะฉะนั้น หากต้องการป้องกันไม่ให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นในอาคาร เจ้าของอาคารควรดำเนินการเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าให้เป็นไปตามมาตรฐาน มีสายดิน อุปกรณ์ตัดไฟ เท่านี้เหตุไฟฟ้าลัดวงจรจนทำให้เกิดเพลิงไหม้ก็จะเกิดได้น้อยลง

การเก็บรักษา หรือเคลื่อนย้ายสารที่เป็นวัตถุไวไฟแบบไม่ระวัง

                  4.การใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่มีมาตรฐาน

                         เช่น ปลั๊กพ่วงที่ชำรุด เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินกระแสมากแต่ใช้สายไฟเส้นเล็กเกินไป อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐานมอก.  พวกนี้ล้วนเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ทั้งสิ้น หากท่านเป็นคนหนึ่งที่ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าพวกนี้อยู่ ขอให้เปลี่ยนใหม่

การเก็บรักษา หรือเคลื่อนย้ายสารที่เป็นวัตถุไวไฟแบบไม่ระวัง

                  5.การเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่แน่น

                          อาจจะเพราะปลั๊กผนังที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือเพราะใช้แรงกดลงไปที่ปลั๊กไม่เพียงพอ พวกนี้ก็ล้วนทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ทั้งนั้น เนื่องจากเมื่อเสียบปลั๊กไม่แน่น จะทำให้เกิดความร้อนขึ้นภายในปลั๊กผนัง จนในที่สุดปลั๊กผนังก็ละลายกลายเป็นไฟลุก ดังนั้นเมื่อคุณจะใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าใดๆ ขอให้เสียบปลั๊กให้แน่นทุกครั้ง หากรู้สึกว่าเสียบกับปลั๊กผนังใดแล้วหลวม แม้จะกดมากแล้ว ให้เปลี่ยนช่องเสียบใหม่

การเก็บรักษา หรือเคลื่อนย้ายสารที่เป็นวัตถุไวไฟแบบไม่ระวัง

                  6.การเก็บรักษา หรือเคลื่อนย้ายสารที่เป็นวัตถุไวไฟแบบไม่ระวัง

                          บางครั้งนำไปเก็บไว้ในที่ๆ มีอุณหภูมิสูงเกิน หรือเก็บไว้ใกล้กับสถานที่ที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับไฟ หรือแม้แต่การเก็บหรือเคลื่อนย้ายจนทำให้สารเกิดการทำปฏิกิริยาที่ผิดปกติ ก็ก่อให้เกิดเพลิงไหม้ได้เช่นกัน ดังนั้นขอให้ใช้ความระมัดระวังในการเก็บสิ่งของเหล่านี้ รวมทั้งการเคลื่อนย้ายด้วย เพื่อไม่ให้เกิดอัคคีภัยขึ้นมาในภายหลัง

การเก็บรักษา หรือเคลื่อนย้ายสารที่เป็นวัตถุไวไฟแบบไม่ระวัง

                  7.การเปิดสวิตซ์ไฟ

                         หรือเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้ทั้งที่ไม่ได้ใช้งาน ก็เป็นตัวการที่ทำให้เกิดความร้อนขึ้นภายในอุปกรณ์ จนเกิดเพลิงไหม้ได้เช่นกัน อีกทั้งยังเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานอีกด้วย ดังนั้นหากคุณไม่ต้องการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าใดๆ แล้ว ให้ปิดและถอดปลั๊กให้เรียบร้อย

การเก็บรักษา หรือเคลื่อนย้ายสารที่เป็นวัตถุไวไฟแบบไม่ระวัง

                 8.ความไม่ระมัดระวังในการทำกิจกรรมเกี่ยวกับไฟ

                       เช่น การจุด Special Effect ในอาคารเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองในโอกาสใดก็ตาม การจุดเทียนวันเกิด หรือแม้แต่การจุดธูปเทียนเพื่อไหว้พระในอาคาร กิจกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประกายไฟ จนลุกลามกลายเป็นอัคคีภัยได้ทั้งสิ้น วิธีแก้ก็คือ ไม่ว่าจะทำกิจกรรมอะไรก็ตาม ควรเฝ้าไว้เสมอ หากหมดเรื่องที่ต้องก่อประกายไฟแล้ว ให้ทำการดับธูป เทียนซะ

การเก็บรักษา หรือเคลื่อนย้ายสารที่เป็นวัตถุไวไฟแบบไม่ระวัง

                 9.การนำอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุดแล้วกลับมาฝืนใช้งานอีก

                       ไม่ว่าจะเป็นปลั๊กพ่วงที่เคยช็อตมาก่อนแล้ว พัดลมที่ไม่ค่อยหมุน หรือเตาปิ้งย่างที่เคยมีประวัติไฟดูด อุปกรณ์เหล่านี้ล้วนแต่เป็นต้นตอที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ทั้งสิ้น หากคุณมีอุปกรณ์ที่ชำรุดพวกนี้อยู่ อย่าฝืนนำมาใช้ ให้ซ่อมแซมก่อน หรือถ้าซ่อมไม่ได้จริงๆ ให้หาซื้อใหม่ดีกว่า

การเก็บรักษา หรือเคลื่อนย้ายสารที่เป็นวัตถุไวไฟแบบไม่ระวัง

                 10.ความประมาท

                       สาเหตุอันดับต้นๆ ที่ทำให้ไฟไหม้อาคารได้ ถ้าคุณรู้ตัวว่ามีสิ่งนี้อยู่ ให้แก้ซะ 

หากคุณจัดการสาเหตุเหล่านี้ได้ ร้านไทยจราจรขอรับรองว่าเหตุเพลิงไหม้ในอาคารจะไม่เกิดอย่างแน่นอน และขอแนะนำว่าอย่าลืมเตรียมอุปกรณ์พวก

เพื่อให้การป้องกันภัยจากเพลิงไหม้ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น